จังหวัดพิษณุโลก
เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน
มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก
ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว, สองแควทวิสาขะ และไทยวน
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง
โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ
และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม
ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ
อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย
และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน
จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
การปกครองและประชากร
พิษณุโลกเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย
มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครอง ๓ หน่วยงาน คือรัฐบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครพิษณุโลก
รัฐบาล
แบ่งการปกครองเป็น
๙ อำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ควบคุมดูแลการราชการ ในจังหวัดและนายอำเภอทำหน้าที่ดูแลในส่วนของอำเภอ
ต่างๆ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พื้นที่บางส่วนบริหารงานโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด
โดยทำหน้าที่เก็บรายได้ และวางงบประมาณในการพัฒนาส่วนต่างๆ ในเขตที่ควบคุมอยู่
เทศบาลนครพิษณุโลก
พื้นที่ประมาณ
๑๘.๒๖ ตารางกิโลเมตร อยู่ในการบริหารของเทศบาลนครพิษณุโลก
ประชาชนสามารถเลือกเทศมนตรีมาทำหน้าที่บริหารและ พัฒนาเทศบาลได้ มีประชากรประมาณ
๘๙,๐๖๗ คนในเขตเทศบาลนี้ ( ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ )
การเดินทาง
จังหวัดพิษณุโลกอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร เนื่องจากมีความเจริญในหลายๆ
ด้าน และจากลักษณะทางภูมิศาสตร์
ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางในด้านการคมนาคมของภูมิภาคนี้
โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน"
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังจังหวัดพิษณุโลกได้ทั้งทางรถยนต์
รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบินโดยรถยนต์จากกรุงเทพมหานคร สามารถไปได้ 2
เส้นทางด้วยกัน คือ
1. จากกรุงเทพฯ
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงอำเภอวังน้อย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32
ผ่านอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท จนถึงนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางหมายเลข 117
เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก รวมระยะทางประมาณ 370
กิโลเมตร
2. จากกรุงเทพฯ
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงอำเภอวังน้อย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32
ผ่านอ่างทอง สิงห์บุรี จนถึงชัยนาท แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางตาคลี–ตากฟ้า
(ทางหลวงหมายเลข 11) ประมาณ 160
กิโลเมตร ถึงอำเภอวังทอง แล้วแยกซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 12
อีกประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงจังหวัดพิษณุโลก รวมระยะทางประมาณ
450
กิโลเมตรโดยรถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก
ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2
ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท
ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท
ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com
นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังจังหวัดพิษณุโลกทุกวัน
วันละ 11 เที่ยว ทั้งรถธรรมดา (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8.5
ชั่วโมง) รถเร็ว รถด่วน (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6-7
ชั่วโมง) และรถด่วนพิเศษ (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4.5
ชั่วโมง)
สอบถามข้อมูลการเดินทางและราคาตั๋วโดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์
1690 (ทุกวันตลอด 24
ชั่วโมง) หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า
3 วัน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2220 4444
(ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.)โดยเครื่องบินบริษัทการบินไทย
จำกัด มหาชน บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ทุกวัน วันละ 2
เที่ยวบิน โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที
สอบถามข้อมูลการเดินทาง
ตารางเวลาเที่ยวบิน และสำรองที่นั่งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2356-1111
หรือเว็บไซต์ www.thaiairways.co.thการเดินทางภายใน
พิษณุโลกในตัวเมืองพิษณุโลกมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย
รถสองแถว
มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง
นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ ราคาวันละ 1,000-2,000
บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง
รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง
ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
มีรถโดยสารประจำทางไม่ปรับอากาศ
ออกจากในตัวจังหวัดวิ่งบริการตลอดเส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น