ที่ชาวพิษณุโลกยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจ
ชาวพิษณุโลกจะพากันมาสรงน้ำพระพุทธชินราช
เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันตรุษสงกรานต์
ซึ่งตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี
2.ประเพณีย่ำกองบอกเวลา จะใช้ตีเวลา ณ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันนี้ยังตีกลองบอกเวลาทุกวัน
เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ชาวพิษณุโลกทุกคนจะรู้สิกอบอุ่นใจเมื่อได้ยินกลองตีบอกเวลา
3.
ประเพณีปักธงชัย เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก โดยชาวนครไทยมีความเชื่อว่าอำเภอนครไทยคือ "เมืองบางยาง” ในอดีต
ซึ่งพ่อขุนบางกลางหาวใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลเพื่อขับไล่ขอมในการต่อสู้ครั้งนั้นพ่อขุนบางกลางหาวได้รับชัยชนะจากการสู้รบ จึงเอาผ้าคาดเอวผูกปลายไม้ปักไว้บนยอดเขาช้างล้วง เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในชัยชนะ ชาวนครไทยจึงได้ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติในวันขึ้น 14
ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี
ชาวนครไทยจะร่วมกันทอผืนธงผ้าฝ้าย
และจะนำไปยังเขาช้างล้วงเพื่อปักธงชัย
โ ดยมีพระสงฆ์ร่วมเจริญชัยมงคลคาถา โดยในการจัดงานจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น
การประกวดแห่ธง
การแข่งขันผู้พิชิตเขาช้าล้วง
การประกวดธิดาปักธง ฯลฯ
4. ประเพณีสนเรือ คือ
พิธีเซ่นไหว้ผีเรือน
หรือผีบรรพบุรุษที่ได้อันเชิญมาไว้บนเรือนซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไป
ผีเรือนก็จะปกป้องคุ้มครองรักษาตนและครอบครัวให้มีความสุขเจริญก้าวหน้า ทำมาค้าขึ้น
พิธีนี้นิยมทำกันเป็นประจำทุกปีหรือ
2 - 3 ปี ครั้งก็ได้
5. ประเพณีการเล่นคอน หรืออิ้นคอน เป็นการละเล่นระหว่างหนุ่มสาวที่โยนลูกช่วงให้แก่กันพร้อมกับร้องรำทำเพลง
เทศกาลนี้นิยมเล่นคือ
เวลาหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวในนาเรียบร้อยแล้ว ราวๆ
เดือน 4 - 5
6. ประเพณีการแต่งงาน หรือเรียกว่า "งานกินดอง" ชาวหนุ่มหญิงไทยซึ่งที่รักชอบกัน ฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอต่อพ่อแม่ฝ่ายหญิง เพื่อพูดจาตกลงกันแล้วก็นัดแต่งงานได้
7. ประเพณีงานศพ เมื่อมีคนตายลง บรรดาญาติมิตรจะพากันนำศพลงเรือนไปป่าช้า แล้วจะช่วยกันทำพิธีศพ
9. ประเพณีแข่งเรือยาว
การแข่งเรือยาวเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกที่ได้ยึดมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดพิษณุโลกจะจัดงานแข่งเรือยาวประเพณีประมาณ
เดือนตุลาคมของทุกปี
หลังจากนำผ้าห่มองค์พระพุทธชินราช
ในงานนี้จะมีการประกวดขบวนเรือ การแข่งเรือยาวประเพณี และมีการประดับขบวนเรือยาวต่างๆ สวยงามน่าชม งานนี้จัดขึ้นบริเวณแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น